วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550

1. นวัตกรรมการศึกษา
1.1 ความหมายของนวัตกรรมการศึกษานวตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคำว่า“นว” หมายถึง ใหม่“กรรม” หมายถึง การกระทำเมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน เป็น นวตกรรม หรือนวกรรม จึงหมายถึงการกระทำ ใหม่ ๆ โดยสรุปแล้ว นวัตกรรมหมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา
1.2 ประเภทของนวัตกรรม
1. เทคนิคและวิธีการ เป็นกลวิธีหรือกิจกรรมหรือวิธีสอน ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. สิ่งประดิษฐ์ เป็นวัสดุหรืออุปกรณ์ที่นำไปใช้ในการเรียนการสอน เช่น บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน เป็นต้น
1.3 ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรมมี 3 ขั้นตอน คือ
1. มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่(invention)
2. มีการพัฒนาปรับปรุงโดยผ่านกระบวนการทดลองวิจัย(devellopment)
3. มีการนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริงแต่ยังไม่แพร่หลาย(innovation)
1.4 การยอมรับและปฏิเสธนวัตกรรมการยอมรับนวัตกรรม
1. ขั้นตื่นตัวหรือรับทราบ (awareness) เป็นขั้นแรกที่บุคคลรับรู้ว่ามีความคิดใหม่ สิ่งใหม่หรือวิธีปฏิบัติใหม่ๆ เกิดขึ้นแล้วนวัตกรรมมีอยู่จริง แต่ยังไม่ มี ข้อมูลรายละเอียดของสิ่งนั้นอยู่
2. ขั้นสนใจ (interest) เป็นขั้นที่บุคคลจะรู้สึกสนใจในนวัตกรรมนั้นทันทีที่เขาเห็นว่าตรงกับปัญหาที่เขาประสบอยู่ หรือตรงกับความสนใจ และจะเริ่มหาข้อเท็จจริงและข่าวสารมากขึ้น โดยอาจสอบถามจากเพื่อนซึ่งได้เคยทดลองทำมาแล้ว หรือเสาะหาความรู้จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมนั้นเพื่อสนองตอบความอยากรู้ของตนเอง
3. ขั้นประเมินผล (evaluation) ในขั้นตอนนี้บุคคลจะพิจารณาว่า นวัตกรรมนั้นจะมีความเหมาะสมกับเขาหรือไม่ จะให้ผลคุ้มค่าเพียงใด หลังจากที่ได้ศึกษานวัตกรรมนั้นมาระยะหนึ่งแล้ว นวัตกรรมนั้นมีความยากและข้อจำกัดสำหรับเขาเพียงใด และจะปรับให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างไร แล้วจึงตัดสินใจว่าจะทดลองใช้ความคิดใหม่ๆ นั้นหรือไม่
4. ขั้นทดลอง (trial) เป็นขั้นตอนที่บุคคลได้ผ่านการไตร่ตรองมาแล้วและตัดสินใจที่จะทดลองปฏิบัติตามความคิดใหม่ๆ ซึ่งอาจทดลองเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด การทดลองปฏิบัตินี้เป็นเพียงการยอมรับนวัตกรรมชั่วคราว เพื่อดูผลว่าควรจะตัดสินใจยอมรับโดยถาวรหรือไม่
5. ขั้นยอมรับปฏิบัติ (adoption) ถ้าการทดลองของบุคคลได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ก็จะยอมรับความคิดใหม่ๆ อย่างเต็มที่และขยายการปฏิบัติออกไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งนวัตกรรมนั้นกลายเป็นวิธีการที่เขายึดถือปฏิบัติโดยถาวรต่อไป ซึ่งถือเป็นขั้นสุดท้ายของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวรการปฏิเสธนวัตกรรม
1. ความเคยชินกับวิธีการเดิมๆ เนื่องจากบุคคลมีความเคยชินกับวิธีการเดิมๆ ที่ตนเองเคยใช้และพึงพอใจในประสิทธิภาพของวิธีการนั้นๆ บุคคลผู้นั้นก็มักที่จะยืนยันในการใช้วิธีการนั้นๆ ต่อไปโดยยากที่จะเปลี่ยนแปลง
2. ความไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรม แม้บุคคลผู้นั้นจะทราบข่าวสารของนวัตกรรมนั้นๆ ในแง่ของประสิทธิภาพว่าสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดีก็ตาม การที่ตนเองมิได้เป็นผู้ทดลองใช้นวัตกรรมนั้นๆ ก็ย่อมทำให้ไม่แน่ใจว่านวัตกรรมนั้นๆ มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่3. ความรู้ของบุคคลต่อนวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเป็นสิ่งที่โดยมากแล้วบุคคลส่วนมากมีความรู้ไม่เพียงพอแก่การที่จะเข้าใจในนวัตกรรมนั้นๆ ทำให้มีความรู้สึกท้อถอยที่จะเข้าใจในนวัตกรรมนั้นๆ
4. ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ โดยทั่วไปแล้วนวัตกรรมมักจะต้องนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการพัฒนานวัตกรรม ดังนั้นค่าใช้จ่ายของนวัตกรรมจึงดูว่ามีราคาแพง
1.5 การนำนวัตกรรมมาใช้กับการศึกษาAsynchronous Learning คือการนำความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การสื่อสาร และความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบโทรทัศน์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งโปรแกรมสำเร็จรูป (Software) ต่าง ๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อการศึกษา
1. แหล่งข้อมูลระยะไกล (Remote Resource) ที่ต้องใช้เครื่องมือ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2. การเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Learning)3.การเรียนแบบร่วมมือกัน (Collabrative Learning) เป็นการเรียนแบบช่วยเหลือกัน ซึ่งการเรียนแบบนี้คือ นักเรียนร่วมกันทำงานในกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายหลักร่วมกัน
4. การเรียนการสอน ที่ไม่จำเป็นต้องเรียนตามตารางสอน (Teaching and Learning in Asynchronous Learning) เป็นการเรียนการสอนแบบ Asynchronous ซึ่งผู้สอน และผู้เรียนมีบทบาท การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายถึง วิธีการเรียนการสอนในรูปแบบของไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) ที่ผู้เรียนได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) เป็นสื่อในการสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ (Khan H. Badrul. 1997 : 6)
2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
2.1 ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้อย่างไม่รู้จบ
2.2 ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้จำแนกเป็น 4 ประเภทใหญ่ คือ
1. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานได้รับการยกย่อง เป็นที่ยอมรับของสังคมซึ่งถือเป็นตัวอย่างต้นแบบกับบุคคลรุ่นหลังสืบไปในหลายสาขาอาชีพ
2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในโลกและอวกาศ ซึ่งไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ เช่น ภูเขา ป่าไม้ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ และสัตว์ป่านานาชนิด เป็นต้น
3. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร แยกได้ 2 ประเภท คือ(1) สื่อทางด้านกายภาพ ได้แก่ วัสดุ ลักษณะสิ่งพิมพ์ ฟิล์ม แผ่นภาพโปร่งใส เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง แผ่น CD ชนิดเสียงและภาพ เป็นต้น อุปกรณ์ เป็นตัวช่องทางผ่านในลักษณะเครื่องฉาย เครื่องเสียงชนิดต่างๆ เป็นต้น(2) สื่อทางด้านวิธีการ ได้แก่ รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ทั้งการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน และเทคโนโลยีระดับสูง ได้แก่ สื่อท้องถิ่น สื่อกิจกรรม
4. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่ หมายถึง วัตถุและอาคารสถานที่ ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งความรู้ด้วยตัวของมันเอง สามารถสื่อความหมายโดยลำพังตัวเอง เช่น สถาปัตยกรรมด้านการก่อสร้าง จิตรกรรมภาพฝาผนัง ปูชนียวัตถุด้านประวัติศาสตร์ ชิ้นส่วนของธรรมชาติที่ให้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ โบราณวัตถุทางด้านศาสนา พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น
2.3 ประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีต่อการศึกษาประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้นี้ผู้เรียนทุกๆ คน สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันให้ก่อประโยชน์สูงสุด
2.4 การนำแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มาใช้กับการเรียนการสอนแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่แท้จริงต้องสามารถสัมผัสกับบรรยากาศและสถานการณ์จริงโดยเอื้อประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้นั้นเกิดได้กับผู้เรียนทุกคน ทุกเวลา มีความหมาย มีความหลากหลาย สามารถเน้นทักษะและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ผู้เรียนมีอิสระในการตัดสินใจ คิดริเริ่มและปฏิบัติได้อย่างมีความสุข
3. คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
3.1 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ 1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ส่วนกายภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ - หน่วยรับข้อมูล เช่น หน่วยบันทึก แผงแป้นอักขระ - หน่วยความจำ เช่น ชิป (Chip) หรือหน่วยความจำสำรอง เช่น จานบันทึก - หน่วยแสดงผล เช่น เครื่องพิมพ์และจอภาพ 2 ซอฟต์แวร์ (Software) คือ ชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ชุดคำสั่งเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่อง หรือเป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์เพื่อให้สามารถทำงานเฉพาะอย่างได้ เช่น งานบัญชี งานพิมพ์เอกสาร งานวาดภาพ เป็นต้น 3 ส่วนบุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ - ระดับบริหาร (Administration) - ระดับวิชาการ (Technical) - ระดับปฏิบัติการ (Data Processing)
3.2 ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer - Assisted Instruction) หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในกิจกรรมการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ นำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน
3.4 ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. โปรแกรมเพื่อการฝึกหัดและปฏิบัติ (Drill and Practica)
2. โปรแกรมเพื่อการสอน (Tutorial)
3. โปรแกรมจำลองสถานการณ์ (Simulation)4. เกมทางการศึกษา (Educational Games)
5. โปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา (Problem Solving)
3.5 ข้อดี ข้อจำกัดข้อดี
1. ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนช้าหรือเร็วได้ตามระดับความสามารถของตนเอง
2. ไม่จำกัดสถานที่เรียน
3. สามารถเรียนจากสื่อประสม
4. การทราบผลการเรียนทันทีข้อจำกัด
1. ขาดซอฟแวร์บทเรียนที่มีคุณภาพ
2. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์
3. ครุภัณฑ์มีราคาสูง
3.6 การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.ใช้สอนแทนผู้สอน ทั้งในและนอกห้องเรียน ทั้งระบบสอนแทน, บททบทวน และสอนเสริม
2. ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนทางไกล ผ่านสื่อโทรคมนาคม เช่น ผ่านดาวเทียม เป็นต้น
3. ใช้สอนเนื้อหาที่ซับซ้อน ไม่สามารถแสดงข้องจริงได้ เช่น โครงสร้างของโมเลกุลของสาร
4. เป็นสื่อช่วยสอน วิชาที่อันตราย โดยการสร้างสถานการณ์จำลอง เช่น การสอนขับเครื่องบิน การควบคุมเครื่องจักรกลขนาดใหญ่
5. เป็นสื่อแสดงลำดับขั้น ของเหตุการณ์ที่ต้องการให้เห็นผลอย่างชัดเจน และช้า เช่น การทำงานของมอเตอร์รถยนต์ หรือหัวเทียน
6. เป็นสื่อฝึกอบรมพนักงานใหม่ โดยไม่ต้องเสียเวลาสอนซ้ำหลายๆ หน
7. สร้างมาตรฐานการสอน
3.7การใช้และการประเมินผลคอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อชีวิตประชาชนโดยทั่วไป ดังนั้นนักศึกษาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
4.1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Information Technology หรือ ITสารสนเทศมีคุณลักษณะที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1. เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว
2. เป็นรูปแบบที่มีประโยชน์ นำไปใช้งานได้
3. มีคุณค่าสำหรับใช้ในการดำเนินงานและการตัดสินใจเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
4.2 ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา- คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการเรียนการสอน- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน- คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน- คอมพิวเตอร์นำเสนอ- เว็บล็อค- การสอนทางโทรศัพท์- ห้องสมุดอิเล็คทรอนิกส์
4.3 ข้อดี-ข้อจำกัดของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อดี
1. การเรียนการสอนที่กว้างขวาง
2. เรียนรู้นอกสถานที่เรียนได้
3. สะดวกในการเรียนการสอนข้อจำกัด
1. ค่าใช้จ่ายสูง
2. บุคลากรเชี่ยวชาญ
4.4 แนวทางการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการศึกษาการเรียนผ่านด้วยระบบดาวเทียมหรือที่เรียกว่าการศึกษาทางไกล
4.5 การประเมินผลการใช้งานประเมินจากการปฏิบัติ แบบทดสอบและแบบสอบถาม เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550

แบบประเมินตนเอง
เรื่อง การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี
เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษา

คำชี้แจง ให้ใช้เกณฑ์ในการเลือกระดับดังต่อไปนี้
1 : รู้จักว่าคืออะไร แต่ไม่เคยใช้
2 : รู้จักว่าคืออะไร สามารถใช้งานได้เบื้องต้น เปิด - ปิด นำเสนอข้อมูลที่ต้องการได้
3 : มีความรู้ทางด้านทฤษฎีบ้าง ใช้งานได้ดี นำเสนอข้อมูลที่ต้องการได้อย่างคล่องแคล่ว
4 : มีความรู้ทางด้านทฤษฎีมาเป็นอย่างดี และสามารถใช้งานได้จริงตามทฤษฎีโดยไม่มีอุปสรรคใด ๆ ในการใช้งาน
5 : มีความรู้ทางด้านทฤษฎีมาเป็นอย่างดี สามารถใช้งานได้จริงตามทฤษฎีโดยไม่มีอุปสรรคใด ๆ ในการใช้งาน สามารถปรับปรุงพัฒนา แก้ไขซ่อมแซม และสอนผู้อื่นให้สามารถใช้งานได้

ประเภทและชนิดของสื่อ
ด้านความรู้
- วัสดุกกราฟิก
- สื่อประเภทตั้งแสดงและการประดิษฐ์ตัวอักษร
- ระบบเครื่องเสียง
- ระบบการฉาย
- ระบบเครื่องฉาย
- ภาพยนตร์และโทรทัศน์
- เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
- คอมพิวเตอร์
- เทคโนโลยีสารสนเทศ

ด้านทักษะ วัสดุกกราฟิก
- แผนสถิติ
- แผนภาพ
- แผนภูมิ
- ภาพโฆษณา
- ภาพวาด
- ภาพถ่าย
- ภาพพิมพ์
- สัญลักษณ์

ประเภทตั้งแสดงและการประดิษฐ์ตัวอักษร
- กระดานชอล์ค
- ป้ายนิเทศ
- ป้ายผ้าสำลี
- ป้ายแม่เหล็ก
- ป้ายไฟฟ้า
- กระเป๋าผนัง

ระบบเครื่องเสียง
- เครื่องขยายเสียง
- ระบบเสียง
- ไมโครโฟน
- เครื่องบันทึกเสียง
- ลำโพง
- คอมแพ็คดิสค์ CD

ระบบการฉาย
- เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป
- เครื่องฉายข้ามศีรษะ Overhead
- เครื่องฉายภาพทึบแสง

ภาพยนตร์และโทรทัศน์
- ภาพยนตร์
- โทรทัศน์
- วีดิทัศน์

เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
- ชุดการสอน
- การสอนแบบโปรแกรม
- การศึกษาทางไกล

คอมพิวเตอร์
- ไมโครคอมพิวเตอร์
- มินิคอมพิวเตอร์
- เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
- ฮาร์ดแวร์
- ซอพแวร์
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI

เทคโนโลยีสารสนเทศ
- ระบบเดินสายเคเบิล
- ระบบไมโครเวฟ
- ระบบดาวเทียม
- อินเตอร์เนต

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สื่อมวลชน...ให้อะไรกับการศึกษา

สื่อมวลชน (mass media) มาจากคำว่า "สื่อ" และ "มวลชน" หมายถึง สื่อหรือช่องทางในการนำสารไปยังมวล ชน ดังนั้น สื่อสารมวลชน จึงหมายความว่า การสื่อ สารไปยังผู้รับสารจำนวนมากในเวลาเดียวกัน โดยอาศัยสื่อมวลชนและผู้รับสาร ไม่ได้อยู่ร่วมกันในที่แห่งเดียวกัน และ เทคโนโลยี สื่อสารมวลชน หมายถึง เทคโนโลยีที่นำมา ประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาในด้านการจัดการด้านเทคนิคและรูปแบบของการสื่อสารมวลชน เพื่อให้การนำเสนอสารมีคุณ ค่าและความน่าสนใจไปสู่ผู้รับสาร ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร โปสเตอร์ ภาพยนตร์ เป็นต้น “สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา” จึงหมายถึง การนำสื่อมวลชนมาใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาบทเรียนไปยังผู้เรียนหรือผู้รับจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน

การสื่อสารมวลชนจะมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว เพราะแทบจะไม่มีการป้อนกลับของข้อมูลส่งกลับไปยังผู้รับเลย แต่ในบางครั้งในการสื่อสารอาจจะมีการป้อนกลับของข้อมูลได้แต่ก็เป็นเพียงการป้อนกลับโดยอนุมาน ประเภทของสื่อมวลชนจำแนกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร ตำราเรียน
2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อระบบไฟฟ้า ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์
โดยสื่อมวลชนมีหน้าที่ที่สำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้
1. ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ

2. เป็นแหล่งกลางในการเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดในสังคม
3. ให้สาระบันเทิงแก่ประชาชน
4. ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้า
หน้าที่สำคัญดังกล่าวเป็นหน้าที่โดยทั่วไปของสื่อมวลชน แต่สื่อมวลชนจะมีบทบาทและหน้าที่นอกเหนือกว่านั้นในประเทศที่กำลังพัฒนา ดังนี้
1. การเสนอข่าว การทำให้ประชาชนมีความตื่นตัวมากขึ้น การยกระดับความต้องการของประชาชนเพื่อเป้าหมายของการพัฒนา และการสร้างบรรยากาศ
2. การมีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจของสังคม สื่อมวลชนจะมีบทบาทในทางอ้อมโดยการให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆแก่ประชาชน
3. การสอน สื่อมวลชนสามารถช่วยในการศึกษาและฝึกอบรมทุกประเภท สามารถช่วยสนับสนุนระบบการศึกษา
สำหรับสื่อที่มีอิทธิพลมากที่สุดในปัจจุบัน คือ สื่อโทรทัศน์ ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าปัจจุบันนี้ ทีวีหรือโทรทัศน์เป็นสื่อที่มีผลต่อกระแสสังคมเป็นอย่างมาก แซงหน้าหนังสือพิมพ์ซึ่งเคยเป็นสื่อที่มีอิทธิพลมากในยุคก่อนสมัยรัฐบาลเผด็จการ สาเหตุส่วนหนึ่งคงมาจากความเป็นอิสระและการมีเสรีภาพมากขึ้นในวงการนี้ ทำให้สื่อโทรทัศน์สามารถนำเสนอข่าวสารต่างๆ ได้แปลกใหม่และหลากหลายกว่าสมัยถูกควบคุมโดยกลไกของรัฐและข้าราชการประจำ ประกอบกับธรรมชาติของโทรทัศน์ ที่สามารถนำเสนอภาพและเสียง ก็เลยยิ่งทำให้เข้าถึงประชาชนได้มากและรวดเร็วตลอดเวลาที่สังคมไทยได้เปลี่ยนผ่านมาสู่ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัย ประกอบกับระบบสื่อสารมวลชนไทยมีการพัฒนาเกิดสื่อใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สื่ออินเตอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือ ก็กลายเป็นสื่อเคลื่อนที่อันทรงพลังอำนาจ ซึ่งเปรียบเสมือนดาบสองคมที่หากเด็กและเยาวชนนำไปใช้อย่างผิดๆ ด้วยการโหลดภาพวิดีโออนาจาร มาส่งต่อๆ กันให้กับโทรศัพท์มือถือของเพื่อนในหมู่วัยรุ่น ดังนั้น การที่เยาวชนกระทำความผิด ก่ออาชญากรรม จี้ ปล้น ข่มขืน แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว และการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร กรณีนี้ สื่อ มักจะตกเป็น จำเลย ถูกตราหน้าจากสังคมว่าเป็นต้นตอของเบ้าหลอมที่บิดเบี้ยวของเยาวชนอยู่เสมอ เพราะเหตุนี้เอง กรมประชาสัมพันธ์ได้จัดประเภทรายการทีวีโดยมีสัญลักษณ์แบ่งประเภทของรายการขึ้นอยู่ข้างจอทีวี เพื่อช่วยให้ประชาชนได้เลือกรับชมรายการต่างๆ ตามความเหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะ โดยแบ่งระดับตามตัวอักษร ได้แก่ ท. คือรายการทั่วไป ด. คือรายการเด็ก น.13 คือรายการที่ต้องแนะนำเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 13 ปี น.18 คือรายการที่ต้องแนะนำเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี และ ฉ. คือรายการเฉพาะ ในขณะนี้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม ได้พยายามจัดเรตติ้งรายการทีวี ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแบ่งประเภทโดยการโหวตผ่านอินเตอร์เน็ต ทั้งนี้การขับเคลื่อนการจัดเรตติ้งของศูนย์เฝ้าระวังฯ นั้นเป็นกระบวนการเชิงวิชาการที่มุ่งให้เครือข่ายภาคประชาสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสื่อมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง โดยจากการศึกษาทางวิชาการได้สรุปรูปแบบการจัดเรตติ้งสื่อโทรทัศน์ที่มีความละเอียด ครอบคลุมการคุ้มครองเด็กและเยาวชนเพื่อไม่ให้ได้รับชมรายการที่ไม่เหมาะสมแบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้
ระดับ 0 จะต้องไม่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทางเพศ ภาษา และไม่มีการปรากฏตัวของภาพที่มีเนื้อหาความรุนแรง ระดับนี้เด็กและเยาวชนสามารถรับชมได้
ระดับ 1 มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในทางเพศ ภาษา ในระดับเล็กน้อย ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของสังคม มีความรุนแรงและความถี่ของภาพในระดับเล็กน้อยหรือต่อเนื่องไม่ยาวนาน
ระดับ 2 มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในทางเพศ ภาษา ระดับปานกลาง ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี มีความรุนแรงและความถี่ของภาพในระดับเล็กน้อย
ระดับ 3 มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในทางเพศ ภาษา ในระดับมาก มีเนื้อหาขัดต่อศีลธรรมและขัดต่อกฎหมายอย่างชัดเจน ความรุนแรงอยู่ในระดับมาก และมีความถี่ของภาพที่ต่อเนื่องและยาวนาน
ทั้งนี้ วธ.ได้เริ่มให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดเรตติ้งในวันที่ 5 ธ.ค.ผ่านทางอินเตอร์เน็ต htpp://www.me.or.th และ SMS โดยพิมพ์ ME แล้วตามด้วยตัวเลขแต่ละช่อง กดไปในรายการที่ต้องการโหวต แล้วให้คะแนน 6 ระดับ ได้แก่ A ดีมาก B ดี C ปานกลาง D ไม่เหมาะสม E แย่ และ F แย่มาก ส่งมาที่ 4863333 ทั้งนี้เพื่อชักชวนให้ประชาชนได้เข้ามามีสิทธิมีเสียงในการจัดเรตติ้งรายการต่างๆ โดยส่วนตัวแล้วดิฉันเห็นว่าเห็นด้วยกับการจัดเรตติ้งของ วธ. และน่าจะทำขึ้นมานานแล้ว เพราะทุกวันนี้เทคโนโลยีมีความทันสมัย การที่จะไปควบคุมเป็นไปได้ยาก ซึ่งสถาบันการศึกษาเน้นผลิตบุคลากรนิเทศศาสตร์ให้มีคุณธรรมและจริยธรรมอยู่แล้ว แต่เมื่อนักศึกษาจบไปการทำงานก็จะต้องขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กรเป็นหลัก ดังนั้น ควรที่จะต้องไปขอความร่วมมือกับภาคเอกชนด้วย สำหรับรายการที่นิยมให้ส่ง SMS ชิงรางวัลหรือการแสดงความคิดเห็นผ่าน SMS ทางทีวี จะว่าไปก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียแต่ถ้าพิจารณาโดยภาพรวมแล้วจะเห็นได้ว่ามีข้อเสียมากกว่าข้อดี
ประการแรก เป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการส่ง
ประการที่สอง การแสดงความคิดเห็นอาจไม่ตรงประเด็นและใช้ข้อความที่ไม่เหมาะสมกับการแพร่ภาพออกอากาศ
ประการที่สาม การส่งข้อความที่ไม่ดีอาจมีผลกระทบต่อผู้ชมได้
แต่อย่างไรก็ตามสื่อมวลชนก็ยังมีประโยชน์ต่อการเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ลักษณะการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา

1. เครื่องมือในการสอน ผู้สอนสามารถนำรายการวิทยุ โทรทัศน์ มาผนวกกับการสอน และเป็นสื่อที่ให้เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับบทเรียนนั้นโดยตรง 2. เครื่องมือในการปฏิบัติการ โดยการใช้กล้องโทรทัศน์ช่วยในการจับภาพจากกล้องจุลทัศน์เพื่อฉายให้ผู้เรียนเห็นบนจอรับภาพ
3. สื่อสอนแทนครู ในกรณีที่มีการขาดแคลนครู ก็อาจใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เพื่ออกอากาศการสอนได้
4. เพื่อเสริมความรู้ เป็นการใช้รายการวิทยุ โทรทัศน์ ข่าวสารบทความเสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้
5. อุปกรณ์การสอนจุลภาค/มหาภาค โดยการบันทึกวีดิทัศน์การสอนหรือการปฏิบัติของผู้เรียนแต่ละคน
6. สื่อในการศึกษาระบบเปิด โดยใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เป็นสื่อเพื่อดำเนินการสอนส่งไปยังผู้เรียนที่อยู่ตามบ้าน
7. อุปกรณ์ในการบันทึกเรื่องราวสำคัญ การแสดง การทดลอง การบรรยายโดยวิทยากร ที่ออกอากาศทางวิทยุ สามารถบันทึกลงวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง และสิ่งพิมพ์ได้
8. แหล่งการเรียนรู้ เป็นการรวบรวมวัสดุที่บันทึกเรื่องราวสำคัญต่างๆ ไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้า โดยอาจเก็บไว้ในห้องสมุด
9. ให้ผู้เรียนหรือผู้ฟัง/ผู้ชมร่วมในรายการ
10. เพิ่มความเป็นธรรมในสังคม โดยการให้ความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ผู้ที่ต้องออกจากโรงเรียน ผู้เรียนกลุ่มพิเศษ โดยการใช้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์
11. เพื่อบริการสังคม เพื่อการเสนอข่าวสาร ความรู้ สาระบันเทิง ตลอดจนการศึกษาทั้งทางตรง และทางอ้อม
การใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา สื่อมวลชนจำแนกออก ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อระบบไฟฟ้า สื่อสองประเภทนี้สามารถนำมาใช้ในการศึกษาทั้งในระบบและนอกโรงเรียนได้ทั้งสิ้น สื่อแต่ละประเภทที่นำมาใช้ในการศึกษา ดังนี้
1. สิ่งพิมพ์
2. วิทยุ
3. โทรทัศน์และวีดิทัศน์
4. ภาพยนตร์
5. สื่อประสม
สามารถจำแนกการใช้ออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. เพื่อการสอนโดยตรง สื่อมวลชนที่ใช้สอนโดยตรงจะต้องมีเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อตรงตามเนื้อหาบทเรียน

2. เพื่อเพิ่มคุณค่าทางการสอน เป็นการนำสื่อมวลชนมาใช้ประกอบการสอนเพื่อเพิ่มความรู้แก่ผู้เรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าที่เรียนจากสื่อที่ใช้ในการสอนโดยตรงในชั้นเรียน สื่อมวลชนที่นำมาใช้จะมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับบทเรียนตามหลักสูตร แต่จะขยายวงกว้างกว่าสื่อที่นำมาสอนโดยตรง

สิ่งพิมพ์
สิ่งพิมพ์ หมายถึง ข้อความ ข้อเขียน หรือภาพที่เกี่ยวกับแนวความคิด ข้อมูล สารคดี บันเทิง ซึ่งถ่ายทอดด้วยการพิมพ์ลงบนกระดาษ ฟิล์ม หรือวัสดุพื้นเรียบ สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา หมายถึง สิ่งพิมพ์ในรูแบบต่าง ๆ ที่จัดพิมพ์ขึ้นโดยบรรจุเนื้อหาสาระที่ดีมีประโยชน์และให้ความรู้ทั้งที่เป็นความรู้ ส่วนสิ่งพิมพ์เพื่อการสอน หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่ให้ความรู้เฉพาะอย่างตามหลักสูตรการเรียน ซึ่งอาจเย็บรวมเล่มหรือเป็นแผ่น ทั้งที่ใช้พิมพ์หรือเขียน
ประเภทของสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สิ่งพิมพ์ทั่วไป และสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาโดยเฉพาะ ได้แก่ สิ่งพิมพ์ทั่วไป
1. หนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์สามารถให้ประโยชน์ด้านการศึกษาอย่างกว้างขวาง ดังนี้
— ช่วยฝึกทักษะในการอ่าน
— ให้ผู้อ่านได้ศึกษา วิเคราะห์ และวิจารณ์ข่าวสาร
— ให้ความรู้เบื้องต้น
— ให้ข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์ประจำวัน
— เป็นเครื่องวัดระดับความรู้และความสนใจของชุมชน
— สามารถเก็บหนังสือพิมพ์เป็นหลักฐานในการค้นคว้า อ้างอิง
2. นิตยสาร วารสาร และจุลสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปเล่มของหนังสือที่ออกเผยแพร่เป็นรายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน หรือแล้วแต่ระยะเวลา
สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา
1. หนังสือตำรา เป็นสื่อที่พิมพ์เป็นเล่ม ประกอบด้วยเนื้อหาตามหลักสูตรการเรียนการสอนโดยอธิบายเนื้อหาวิชาอย่างละเอียด อาจมีภาพถ่ายหรือภาพเขียนประกอบเพื่อเพิ่มความสนใจของผู้เรียน
2. แบบฝึกปฏิบัติ
3. พจนานุกรม

4. สารานุกรม
5. หนังสือภาพหรือภาพชุดต่างๆ
6. วิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัย
7. สิ่งพิมพ์ย่อส่วน หนังสือเก่าหรือชำรุดหรือหนังสือพิมพ์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากย่อมไม่สะดวกในการเก็บรักษา จึงอาศัยวิธีการเทคโนโลยีใยการทำสิ่งพิมพ์ย่อส่วน ได้แก่
— ไมโครฟิล์ม เป็นการถ่ายหนังสือแต่ละหน้าลงบนม้วนฟิล์ม
— ไมโครฟิช เป็นแผ่นฟิล์มแข็งขนาด 4 x6 นิ้ว สามารถบันทึกข้อความจากหน้าหนังสือโดยย่อเป็นกรอบเล็กๆ หลายๆ กรอบ
การใช้สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาจำแนกได้ 3 วิธี คือ
1. ใช้เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับวิชาเรียน
2. ใช้เป็นวัสดุการเรียนร่วมกับสื่ออื่นๆ
3. ใช้เป็นสื่อเสริมในการเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์
สื่อสิ่งพิมพ์ทั้ง 3 วิธี ผู้สอนสามารถนำสิ่งพิมพ์ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์ทั่วไปหรือเพื่อการศึกษาโดยเฉพาะมาใช้ในการเรียนการสอน โดยพิจารณาตามลักษณะของสิ่งพิมพ์และลักษณะของการใช้ ดังนี้
1. สิ่งพิมพ์ที่เขียนขึ้นในลักษณะของหนังสือตำรา
2. สิ่งพิมพ์ที่เขียนขึ้นในลักษณะบทเรียนสำเร็จรูปเพื่อง่ายต่อการศึกษา
3. สิ่งพิมพ์เสริมการเรียนการสอน เช่น แบบปฏิบัติ
4. สิ่งพิมพ์ทั่วไปๆ ไป เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์
5. สิ่งพิมพ์ประเภทภาพชุด

วิทยุ
วิทยุเป็นอุปกรณ์สื่อสารในการรับส่งข้อมูลทางด้านเสียงโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยไม่ต้องใช้สาย การใช้วิทยุเพื่อการสื่อมวลชนเพื่อการศึกษาในประเทศไทยเริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 โดยใช้ในและนอกระบบโรงเรียน ถ้าเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียนเรียกว่า “วิทยุโรงเรียน” ถ้านอกระบบโรงเรียนเรียกว่า “วิทยุไปรษณีย์” เราเรียกการใช้วิทยุในการศึกษารวมเรียกว่า “วิทยุศึกษา”
การใช้วิทยุเพื่อการศึกษา
1.การสอนโดยตรง เป็นการใช้วิทยุเพื่อเป็นสื่อสอนโดยตรงในบางวิชาหรือบางตอนของบทเรียน รายการวิทยุที่ใช้สอนจึงเป็นการเสนอตามเนื้อหาบทเรียนในหลักสูตร การสอนโดยใช้วิทยุสามารถกระทำได้ดังนี้
— ใช้เป็นเครื่องมือในการสอน
— ใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้
— ใช้เป็นสื่อหลักในการศึกษาตามหลักสูตร
—ใช้เป็นสื่อเสริมในการศึกษาระบบเปิด ด้วยการใช้รายการวิทยุเป็นสื่อเสริมประเภทในระบบการศึกษาทางไกล
—ใช้เป็นอุปกรณ์ในการฝึกอบรม
2.การเพิ่มพูนคุณค่าในการสอน เป็นการใช้รายการวิทยุเพื่อปรุงแต่งและเสริมคุณค่าของการสอนในบางวิชาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

โทรทัศน์
การใช้โทรทัศน์การศึกษาและการสอน
1. การสอนโดยตรง เป็นการใช้โทรทัศน์เพื่อเสนอรายการที่จัดทำขึ้นตามเนื้อหาในหลักสูตรในรูปแบบของโทรทัศน์การสอน
— ใช้เป็นเครื่องมือในการสอน
— ใช้เป็นสื่อสอนแทนครู
— ใช้เป็นสื่อเพื่อเสริมความรู้
— ใช้เป็นสื่อในการศึกษาระบบเปิด
— เพื่อเพิ่มความเป็นธรรมในสังคม
2. การเพิ่มคุณค่าทางการสอน เป็นการนำรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทเรียนนั้นมาเสนอแก่ผู้เรียนเพื่อเพิ่มความรู้และประสบการณ์ และเป็นการช่วยเสริมสร้างบรรยากาศทางการเรียนให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

วีดิทัศน์
แถบวีดิทัศน์เป็นวัสดุสำคัญที่สามารถใช้บันทึกภาพและเสียงไว้ได้พร้อมกันในแถบเทปในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และยังสามารถลบแล้วบันทึกใหม่ได้เช่นเดียวกับเทปบันทึกเสียง แถบวีดิทัศน์จะใช้กับเครื่องเล่นวีดิทัศน์ซึ่งต่อเข้ากับเครื่องรับโทรทัศน์เพื่อเล่นภาพและเสียงออกมา

ภาพยนตร์
ภาพยนตร์ หมายถึง ภาพนิ่งเรียงติดต่อกันที่ถูกบันทึกลงบนม้วนฟิล์มด้วยกล้องถ่ายภาพยนตร์ เมื่อฉายฟิล์มไปที่จอภาพ ภาพยนตร์การศึกษา หมายถึง ภาพยนตร์ที่เป็นสื่อถ่ายทอดความรู้ ข้อมูล เรื่องราว แนวคิด เหตุการณ์ ให้ผู้ชมได้รับความรู้จากเรื่องราวที่เสนอ โดยไม่จำกัดกลุ่มผู้ชม
การใช้ภาพยนตร์เพื่อการสอน การใช้ภาพยนตร์ในชั้นเรียน ผู้สอนต้องตั้งจุดประสงค์ว่าจะใช้ภาพยนตร์เพื่อการสอนโดยตรงหรือเพื่อประกอบการสอน เพราะภาพยนตร์เรื่องเดียวอาจใช้เนื้อหาเพื่อสนองตามจุดประสงค์ที่แตกต่าง ในการใช้ภาพยนตร์นั้นอาจจะใช้ทั้งเรื่องหรือเลือกเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งมาใช้สอนก็ได้เพื่อความเหมาะสม ซึ่งผู้สอนควรยึดหลักการดังนี้
1. ก่อนนำมาฉายในชั้นเรียน ผู้สอนควรทราบถึงรายละเอียดและความสำคัญของเนื้อเรื่องนั้นก่อน
2. ควรมีการเตรียมพร้อมผู้เรียนเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการชมภาพยนตร์
3. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมขณะฉายภาพยนตร์ซึ่งอาจทำได้โดย
— หยุดฉายภาพยนตร์เพื่อให้ผู้เรียนซักถาม
— หยุดฉายภาพยนตร์เพื่อทดลองฝึกทักษะ
— สอดแทรกคำถามให้ผู้เรียน
4. ควรใช้ภาพยนตร์คู่กับสื่อๆ
5. ใช้ภาพยนตร์สี
6. ฉายภาพยนตร์บางตอนซ้ำ
7. มีกิจกรรมให้ผู้เรียนทำหลังชมภาพยนตร์

สื่อประสม
การใช้สื่อประเภทอื่นมาใช้ร่วมด้วยในลักษณะของ”สื่อประสม” มีการใช้ดังนี้ คือ
1. สื่อหลัก โดยใช้สื่อมวลชนในการสื่อสารระหว่างผู้สอน
2. สื่อเสริม

การศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกลเป็นระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกันคนละสถานที่ แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้โดยอาศัยสื่อมวลชน 2 ประเภท คือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสิ่งพิมพ์

การใช้สื่อมวลชนในการศึกษาทางไกล
1. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำแนกเป็นสื่อประเภทเสียง และสื่อประเภทเสียงและภาพ
2. สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่จัดให้ผู้เรียนเรียนได้ด้วยตนเอง อยู่ในรูปแบบของชุดการเรียน สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่ให้ความสะดวกแก่ผู้เรียนและเอื้ออำนวยในการศึกษาทางไกล ดังนี้

— เป็นสื่อที่ผู้เรียนสามารถใช้เวลาศึกษาได้ตามความสามารถ
— สามารถทราบผลการศึกษาจากกิจกรรมและคำถามท้ายเรื่อง
— สามารถทราบผลความก้าวหน้าของการศึกษาจากอาจารย์
— สามารถตรวจสอบผลการปฏิบัติงานต่างๆ
— ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจในความสามารถของตน
3. สื่อบุคคล คือ อาจารย์ ผู้เรียน ในการสื่อสารกันของสื่อบุคคลสามารถกระทำได้ในลักษณะต่อไปนี้
— การติดต่อทางไปรษณีย์
— การติดต่อทางโทรศัพท์
— การจัดทบทวนในท้องถิ่นแต่ละแห่งโดยเชิญวิทยากร
— การเข้าศึกษากับอาจารย์สัญจร
—การรวมกลุ่มของผู้เรียนในแต่ละแห่งเพื่ออภิปรายเนื้อหา
—การติดต่อปรึกษาหารือกันระหว่างเรียน

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ริบบิ้นสีฟ้า

>ริบบิ้นสีฟ้ามีความรู้สึกดีๆ มาให้
>>>ครูคนหนึ่งที่นิวยอร์คตกลงใจจะแสดงความชื่นชมนักเรียนไฮสคูล
>ชั้นปีสุดท้ายที่เธอสอน
>ด้วยการบอกเขาเหล่านั้นว่าแต่ละคนมีคุณค่าพิเศษต่างจากคนอื่นอย่างไรบ้าง
>เธอเรียกนักเรียนทุกคนไปหน้าชั้นทีละคน
>>แรกสุดเธอบอกแต่ละคนว่า...พวกเขามีคุณค่าเพียงใด
>ทั้งต่อตัวครูและต่อเพื่อนร่วมห้อง
>จากนั้นเธอก็มอบริบบิ้นสีฟ้าพิมพ์ด้วยตัวหนังสือสีทองเป็นของขวัญให้
>ข้อความบนริบบิ้นมีว่า..."ฉันเป็นคนมีคุณค่า"
>>>จากนั้นครูให้นักเรียนทำงานกลุ่มของชั้นขึ้นมาชิ้นหนึ่ง
>ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อดูว่าการแสดงความชื่นชมยกย่องผู้อื่นส่งผลอย่างไรต่อคนในชุมชน
>>>เธอมอบริบบิ้นแก่นักเรียนคนละสามเส้น
>ให้นักเรียนเผยแพร่การรับรู้และชื่นชมคุณค่าผู้อื่นในวงกว้างออกไป
>จากนั้นนักเรียนจะต้องติดตามผลและดูว่าใครยกย่องใครบ้าง
>แล้วนำกลับมารายงานในห้องภายในหนึ่งสัปดาห์
>>>นักเรียนชายคนหนึ่งเข้าพบผู้บริหารระดับรองที่ทำงานในบริษัทใกล้ๆ
>เพื่อยกย่องที่ชายผู้นี้เคยช่วยเขาวางแผนอาชีพในอนาคต
>แล้วมอบริบบิ้นติดให้บนเสื้อเชิ้ต
>>>จากนั้นก็มอบริบบิ้นอีกสองเส้นที่เหลือพร้อมกับกล่าวว่า....
>"เรากำลังทำงานกลุ่มของชั้นเรียนเกี่ยวกับเรื่องการแสดงความยกย่องชื่นชมผู้อื่นครับ
>ผมอยากขอให้คุณช่วยหาใครสักคนที่คุณต้องการยกย่อง
>แล้วให้ริบบิ้นเขาส่วนอีกเส้นก็ให้เขาไว้สำหรับมอบให้คนต่อไป
>เพื่อเผยแพร่การยกย่องชื่นชมนี้ให้กระจายต่อไป
>แล้วช่วยกลับมาบอกผมด้วยครับว่าผลเป็นยังไงบ้าง"
>>>ต่อมาในวันเดียวกันผู้บริหารท่านนี้เเข้าพบเจ้านายเขา
>ซึ่งเป็นคนที่ใครๆรู้กันดีว่าเกรี้ยวกราดอารมณ์ร้าย
>เขานั่งลงคุยกับเจ้านายบอกเจ้านายว่า... ลึกๆ
>เขายกย่องชื่นชมเจ้านาย
>ว่าเป็นผู้มีหัวคิดสร้างสรรค์ระดับอัจฉริยะ
>>ดูเหมือนเจ้านายเขาจะประหลาดใจอย่างยิ่ง
>เขาถามเจ้านายว่าจะยินดีรับริบบิ้นสีฟ้าเป็นของขวัญแสดงความชื่นชม
>และอนุญาตให้เขาติดริบบิ้นให้ได้หรือไม่
>เจ้านายผู้ประหลาดใจตอบว่าได้
>>>เขาจึงติดริบบิ้นสีฟ้าเส้นนั้นบนปกเสื้อนอกบริเวณเหนือหัวใจ
>เมื่อเขามอบริบบิ้นเส้นสุดท้ายแก่เจ้านายเขาบอกเจ้านายว่า...
>ช่วยอะไรผมสักอย่างได้ไหมครับ
>ผมอยากให้เจ้านายช่วยส่งต่อริบบิ้นเส้นสุดท้ายนี้
>ด้วยการยกย่องชื่นชมใครสักคนพ่อหนุ่มที่ให้ริบบิ้นผมมาเป็นคนแรก
>กำลังทำงานกลุ่มของชั้นอยู่
>เขาอยากให้ช่วยกระจายการยกย่องชื่นชมนี้ให้เผยแพร่ในวงกว้างออกไป
>แล้วดูว่าการทำแบบนี้ส่งผลต่อใครๆยังไงบ้าง
>>>>ค่ำวันนั้นชายผู้เป็นเจ้านายกลับบ้านไปหาลูกชายวัยรุ่นอายุสิบสี่
>เขาเรียกลูกชายให้นั่งลงแล้วกล่าวว่า
>วันนี้เกิดเรื่องเหลือเชื่อที่สุดกับพ่อตอนอยู่ห้องทำงาน
>ลูกน้องคนหนึ่งเข้ามาบอกว่าเขาชื่นชมพ่อ
>แล้วให้ริบบิ้นเส้นหนึ่งเป็นการยกย่องว่าพ่อเป็นอัจริยะ
>เรื่องความมีหัวคิดสร้างสรรค์
>>ลองนึกดูเขาคิดว่าพ่อมีหัวคิดสร้างสรรค์เข้าขั้นอัจฉริยะเชียวนะ
>แล้วเขาก็เอาริบบิ้นเส้นนี้ที่เขียนว่าฉันเป็นคนมีคุณค่า
>ติดให้บนปกเสื้อนอกตรงหัวใจนี่แล้วยังให้ริบบิ้นพ่อมาอีกเส้น
>ให้พ่อมองหาใครสักคนที่จะยกย่องชื่นชมต่อ...
>>ระหว่างที่พ่อขับรถกลับบ้านก็คิดว่าริบบิ้นเส้นนี้จะให้ใครดี
>แล้วพ่อก็นึกถึงแกพ่ออยากชื่นชมแกนะ วันๆพ่อทำงานยุ่งเหยิงมาก
>พอกลับมาบ้านก็ไม่ค่อยได้ใส่ใจแกสักเท่าไร
>>บางทียังอาละวาดอีกเรื่องแกเรียนได้เกรดไม่ดีเรื่องทำห้องนอนรก
>แต่ยังไงไม่รู้สิวันนี้พ่อกลับอยากนั่งลงตรงนี้กับแก
>อยากบอกว่าแกมีค่ากับพ่อมากแค่ไหนนอกจากแม่แกแล้ว
>ก็มีแกนี่แหละที่เป็นคนที่สำคัญที่สุดในชีวิตพ่อ
>แกเป็นเด็กที่ยอดเยี่ยมเลยแหละแล้วพ่อก็รักแกนะ...
>>>>เด็กหนุ่มผู้ตื่นตะลึงเริ่มสะอื้น...แล้วก็สะอื้น...
>เขาไม่อาจหยุดร้องไห้ร่างสั่นเทาไปทั้งตัว
>เขาเงยหน้ามองผู้เป็นพ่อแล้วกล่าวทั้งน้ำตา
>>>>พ่อครับ เมื่อตอนเย็นผมอยู่บนห้องนั่งเขียนจดหมายถึงพ่อกับแม่
>เพื่ออธิบายว่าทำไมผมถึงฆ่าตัวตายแล้วก็ขอให้พ่อยกโทษให้ผม
>ผมตั้งใจจะฆ่าตัวตายคืนนี้ตอนพ่อหลับผมคิดว่าพ่อไม่เคยแคร์ผมเลย
>จดหมายอยู่บนห้องครับแต่ผมคิดว่าผมคงไม่ต้องการมันแล้วล่ะ"
>>>>พ่อของเด็กหนุ่มเดินขึ้นไปบนห้องพบจดหมายข้อความสะเทือนใจ
>บรรยายถึงความเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน
>จดหมายฉบับนั้นจ่าหน้าถึงพ่อกับแม่
>>ชายผู้เป็นเจ้านายกลับไปที่ทำงานอย่างเปลี่ยนไปเป็นคนละคน
>เขาเลิกเป็นคนขี้โมโหแต่จะพยายามทำทุกวิถีทาง
>เพื่อให้พนักงานใต้บังคับบัญชารู้ว่าพวกเขามีค่าอย่างไรบ้าง
>>>>ส่วนชายผู้เป็นนักบริหารระดับรองก็ช่วยให้คำแนะนำเด็กหนุ่มอื่นๆ
>ต่อมาอีกหลายคนเรื่องการวางแผนอาชีพในอนาคต
>แล้วก็ไม่เคยลืมบอกเด็กเหล่านั้นว่าแต่ละคนมีคุณค่าต่อชีวิตเขา
>อย่างไรบ้าง
>>หนึ่งในนั้นก็คือเด็กหนุ่มลูกชายเจ้านายเขา
>ส่วนเด็กหนุ่มกับเพื่อนร่วมชั้นก็ได้เรียนรู้บทเรียนที่มีค่าเรื่องหนึ่งนั่นคือ
>เราต่างเป็นคนที่มีคุณค่า...ด้วยกันทั้งนั้น
>>คุณไม่จำเป็นต้องส่งเมล์ฉบับนี้ต่อให้ใครแม้แต่คนเดียว..
>อย่าว่าแต่สองคนหรือสองร้อยคนเลยสำหรับฉัน(ผู้เขียนเรื่องนี้)
>คุณอาจจะลบเมล์ฉบับนี้ทิ้งแล้วไปเปิดดูเมล์ฉบับต่อไป
>แต่ถ้าคุณมีใครสักคนที่มีความหมายกับคุณมาก
>ฉันขอสนับสนุนให้คุณส่งข้อความนี้ไปให้เขาหรือเธอผู้นั้น
>เพื่อให้เขาได้รับรู้ความรู้สึกของคุณคุณไม่มีทางรู้หรอกว่า...
>การให้กำลังใจเล็กๆ น้อยๆมีคุณค่าแค่ไหนกับคนสักคน
>>>ส่งเรื่องนี้ไปยังคนทุกคนที่คุณเห็นว่ามีความหมายต่อคุณมีความสำคัญต่อคุณ
>หรืออาจส่งไปให้คนหนึ่ง..สอง..หรือสามคนที่มีความหมายต่อคุณมากที่สุด
>หรือคุณอาจจะแค่ยิ้มที่ได้รู้ว่ามีใครบางคนคิดว่าคุณเป็นคนสำคัญ
>ไม่งั้นคุณก็คงไม่ได้รับเมล์ฉบับนี้แต่แรก
>>>จำไว้นะฉันให้ริบบิ้นสีฟ้าแก่คุณแล้ว....

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ประวัติส่วนตัว

ชื่อนางสาวจิตรรัตน์ดา ศิรินอก
ชื่อเล่น ปู
เกิดวันที่ 15 มกราคม 2526
จบการศึกษาระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจ (การตลาด) จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เมื่อปีพ.ศ. 2548
ปัจจุบันกำลังศึกษา